วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความสุขอยู่หนใด มีชาย ๓ คนที่เต็มไปด้วยความทุกข์ จมอยู่กับปัญญาที่แก้ไม่ตก จึงได้ไปขอคำชี้แนะจากพระอาจารย์เซนอู๋เต๋อ “ช่วยชี้นำทางให้พวกข้าได้พ้นจากความทุกข์ และได้เจอความสุขทีเถิด” เมื่ออาจารย์เซนได้ยินดังนั้นจึงเอ่ยถามกลับไปว่า “ทุกวันนี้พวกท่านมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร” คนแรกตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่ เพราะไม่อยากตาย” คนที่สองตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อมีลูกหลานให้เต็มบ้านเต็มเมือง ยามแก่ชราจะได้มีลูกหลานคอยดูแล” คนสุดท้ายตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว เพราะข้าเป็นที่พึ่งพิงสำหรับทุกคน ข้าจึงตายไม่ได้” เมื่ออาจารย์เซนได้ฟังเหตุผลของทั้งสามจึงกล่าวว่า “หากเป็นดังเช่นที่พวกท่านกล่าวมา หนทางแห่งความสุขคงมืดมนนักเพราะคนหนึ่งอยู่ด้วยการหวาดกลัวกับความตาย คนหนึ่งเฝ้ารอให้ถึงยามแก่ชรา อีกคนต้องแบกภาระอันหนักอึ้งอยู่บนหลังอยู่ร่ำไป จนลืมหลักการใช้ชีวิตอยู่ แล้วจะมีความสุขได้อย่างไร” หลังจากนั้นอาจารย์อู๋เต๋อจึงได้เอ่ยถามทั้ง ๓ คนไปว่า แล้วความสุขของท่านคือ อะไร คนแรกตอบว่า “การมีเงินทองมีทรัพย์สินมากมาย นั่นคือความสุขของข้า” คนที่สองตอบว่า “ข้ามองว่า การมีความรักจะนำพาความสุขมาให้ข้าได้” คนสุดท้ายตอบว่า “การเด่นโด่งดัง มีชื่อเสียงเกียรติยศต่างหาก คือความสุข” อาจารย์เซนอู๋เต๋อ จึงกล่าวกลับไปว่า ดังที่พวกท่านกล่าวมาทั้งหมด อาตมายังมองไม่เห็นความสุขเลย กลับเป็นความทุกข์เสียด้วยซ้ำ ถ้าพวกท่านสะสมสิ่งเหล่านี้มากเกินไปกลับทวีความทุกข์เพิ่มขึ้นเท่านั้น ชายทั้งสามมองหน้ากันอย่างมึนงง ไม่เข้าใจเหตุใด อาจารย์จึงมองว่าเป็นทุกข์เช่นนั้น อาจารย์จึงชี้แนะเพิ่มเติมว่า “หากพวกท่านอยากมีทรัพย์สินเงินทอง มีคนรักนับน่าถือตาและมีชื่อเสียงให้คนสรรเสริญ ความกังวลทะเยอทะยานอยากได้อยากมี รวมทั้งรักษาให้มันคงอยู่จะเป็นการสร้างบ่วงพันธนาการยึดติดจนนำไปสู่ความทุกข์ แต่หากอยากพบกับความสุขที่แท้จริงท่านทั้งสามต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่” “เมื่อมีทรัพย์สินเงินทองดังตั้งใจแล้ว ควรแบ่งปันทำบุญทำทานให้แก่ผู้ยากไร้จึงจะเป็นสุข สุขที่เกิดจากจิตใจยากที่จะเอาสิ่งใดเปรียบเหมือน ส่วนความรักนั้นจงรู้สึกเสียสละเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้จึงจะค้นพบกับความสุขที่แท้จริง สุดท้ายคือเกียรติยศชื่อเสียง จงรู้จักทำตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม นำชื่อเสียงที่มีเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่นนี้จึงจะเป็นความสุขอันแท้จริง” ความสุขที่แท้จริงเกิดจากใจที่บริสุทธิ์

ความสุขอยู่หนใด

มีชาย ๓ คนที่เต็มไปด้วยความทุกข์ จมอยู่กับปัญญาที่แก้ไม่ตก จึงได้ไปขอคำชี้แนะจากพระอาจารย์เซนอู๋เต๋อ
“ช่วยชี้นำทางให้พวกข้าได้พ้นจากความทุกข์ และได้เจอความสุขทีเถิด”
เมื่ออาจารย์เซนได้ยินดังนั้นจึงเอ่ยถามกลับไปว่า

“ทุกวันนี้พวกท่านมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร”
คนแรกตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่ เพราะไม่อยากตาย”
คนที่สองตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อมีลูกหลานให้เต็มบ้านเต็มเมือง ยามแก่ชราจะได้มีลูกหลานคอยดูแล”
คนสุดท้ายตอบ “ข้ามีชีวิตอยู่เพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว เพราะข้าเป็นที่พึ่งพิงสำหรับทุกคน ข้าจึงตายไม่ได้”

เมื่ออาจารย์เซนได้ฟังเหตุผลของทั้งสามจึงกล่าวว่า
“หากเป็นดังเช่นที่พวกท่านกล่าวมา หนทางแห่งความสุขคงมืดมนนักเพราะคนหนึ่งอยู่ด้วยการหวาดกลัวกับความตาย คนหนึ่งเฝ้ารอให้ถึงยามแก่ชรา อีกคนต้องแบกภาระอันหนักอึ้งอยู่บนหลังอยู่ร่ำไป จนลืมหลักการใช้ชีวิตอยู่ แล้วจะมีความสุขได้อย่างไร”

หลังจากนั้นอาจารย์อู๋เต๋อจึงได้เอ่ยถามทั้ง ๓ คนไปว่า แล้วความสุขของท่านคือ อะไร
คนแรกตอบว่า “การมีเงินทองมีทรัพย์สินมากมาย นั่นคือความสุขของข้า”
คนที่สองตอบว่า “ข้ามองว่า การมีความรักจะนำพาความสุขมาให้ข้าได้”
คนสุดท้ายตอบว่า “การเด่นโด่งดัง มีชื่อเสียงเกียรติยศต่างหาก คือความสุข”

อาจารย์เซนอู๋เต๋อ จึงกล่าวกลับไปว่า ดังที่พวกท่านกล่าวมาทั้งหมด อาตมายังมองไม่เห็นความสุขเลย กลับเป็นความทุกข์เสียด้วยซ้ำ ถ้าพวกท่านสะสมสิ่งเหล่านี้มากเกินไปกลับทวีความทุกข์เพิ่มขึ้นเท่านั้น

ชายทั้งสามมองหน้ากันอย่างมึนงง ไม่เข้าใจเหตุใด อาจารย์จึงมองว่าเป็นทุกข์เช่นนั้น อาจารย์จึงชี้แนะเพิ่มเติมว่า

“หากพวกท่านอยากมีทรัพย์สินเงินทอง มีคนรักนับน่าถือตาและมีชื่อเสียงให้คนสรรเสริญ ความกังวลทะเยอทะยานอยากได้อยากมี รวมทั้งรักษาให้มันคงอยู่จะเป็นการสร้างบ่วงพันธนาการยึดติดจนนำไปสู่ความทุกข์ แต่หากอยากพบกับความสุขที่แท้จริงท่านทั้งสามต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่”

“เมื่อมีทรัพย์สินเงินทองดังตั้งใจแล้ว ควรแบ่งปันทำบุญทำทานให้แก่ผู้ยากไร้จึงจะเป็นสุข สุขที่เกิดจากจิตใจยากที่จะเอาสิ่งใดเปรียบเหมือน
ส่วนความรักนั้นจงรู้สึกเสียสละเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้จึงจะค้นพบกับความสุขที่แท้จริง
สุดท้ายคือเกียรติยศชื่อเสียง จงรู้จักทำตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม นำชื่อเสียงที่มีเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่นนี้จึงจะเป็นความสุขอันแท้จริง”

ความสุขที่แท้จริงเกิดจากใจที่บริสุทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น