วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สิงโตออกคำสั่งให้สัตว์ทั้งหลายในป่ามาเล่าเรื่องขำขันกัน เจ้าป่าประกาศว่า สัตว์แต่ละตัวต้องเล่าขำขันหนึ่งเรื่อง ถ้ามีสัตว์ผู้ฟังแม้ตัวเดียวไม่หัวเราะ แสดงว่าขำขันเรื่องนั้นสอบไม่ผ่าน ผู้เล่าจะถูกสิงโตฆ่าตาย โทษฐานไม่ขำ ลิงเป็นตัวแรกที่ลุกขึ้นเล่า ขำขันของลิงตลกมากจนสัตว์ทุกตัวหัวเราะงอหาย ยกเว้นเต่าซึ่งมองลิงด้วยความงุนงง สายตาไม่มีแววขำเลยสักนิด ดังนั้นสิงโตจึงฆ่าลิงเสีย โทษฐานเล่าเรื่องไม่ตลก ม้าลายเป็นรายถัดไป พอมันเล่าเรื่องจบ สัตว์ทั้งหลายก็โพล่งหัวเราะด้วยความขบขันอย่างยิ่ง ขำขันของม้าลายยอดเยี่ยมมาก แต่กระนั้นเต่าก็ยังไม่เห็นว่าเรื่องนั้นขำ สิงโตจึงฆ่าม้าลายเสีย นักเล่ารายต่อไปคือยีราฟ แก๊กของมันตลกมากเช่นกัน แต่กระนั้นมันก็หนีไม่พ้นความตาย เพราะดูเหมือนมาตรฐานความขำของเต่าสูงเกินไป กวางเป็นนักเล่าตัวถัดมา มันเล่าเรื่องขำขันที่ครอบครัวของมันเล่าต่อกันมาหลายชั่วรุ่นแล้ว ทุกครั้งที่เล่าก็ขำกันทั้งวงไม่เคยพลาด แต่กวางก็ไม่รอด เพราะเต่าไม่ขำเลยสักนิด รายต่อไปคือกระรอก มันเล่าขำขันของมันไปไม่ทันจบเรื่อง เต่าก็โพล่งหัวเราะออกมาด้วยความขบขันเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายมองตากันด้วยความงุนงง เพราะเรื่องที่กระรอกเล่ายังไม่จบและยังไม่ถึงจุดตลก แลเห็นเต่าหัวเราะขำกลิ้ง ร้องว่า “โอ้ย! สุดยอด! ขำมาก ขำจริง ๆ...” สิงโตถามเต่าว่า “ขำอะไรวะ? กระรอกยังเล่าไม่จบเลย” เต่าตอบว่า “โอ้ย! ขำขันของลิงนี่ขำจริง ๆ!” Cr. วินทร์ เลียววาริณ

สิงโตออกคำสั่งให้สัตว์ทั้งหลายในป่ามาเล่าเรื่องขำขันกัน เจ้าป่าประกาศว่า สัตว์แต่ละตัวต้องเล่าขำขันหนึ่งเรื่อง ถ้ามีสัตว์ผู้ฟังแม้ตัวเดียวไม่หัวเราะ แสดงว่าขำขันเรื่องนั้นสอบไม่ผ่าน ผู้เล่าจะถูกสิงโตฆ่าตาย โทษฐานไม่ขำ

ลิงเป็นตัวแรกที่ลุกขึ้นเล่า ขำขันของลิงตลกมากจนสัตว์ทุกตัวหัวเราะงอหาย ยกเว้นเต่าซึ่งมองลิงด้วยความงุนงง สายตาไม่มีแววขำเลยสักนิด ดังนั้นสิงโตจึงฆ่าลิงเสีย โทษฐานเล่าเรื่องไม่ตลก

ม้าลายเป็นรายถัดไป พอมันเล่าเรื่องจบ สัตว์ทั้งหลายก็โพล่งหัวเราะด้วยความขบขันอย่างยิ่ง ขำขันของม้าลายยอดเยี่ยมมาก แต่กระนั้นเต่าก็ยังไม่เห็นว่าเรื่องนั้นขำ สิงโตจึงฆ่าม้าลายเสีย

นักเล่ารายต่อไปคือยีราฟ แก๊กของมันตลกมากเช่นกัน แต่กระนั้นมันก็หนีไม่พ้นความตาย เพราะดูเหมือนมาตรฐานความขำของเต่าสูงเกินไป

กวางเป็นนักเล่าตัวถัดมา มันเล่าเรื่องขำขันที่ครอบครัวของมันเล่าต่อกันมาหลายชั่วรุ่นแล้ว ทุกครั้งที่เล่าก็ขำกันทั้งวงไม่เคยพลาด แต่กวางก็ไม่รอด เพราะเต่าไม่ขำเลยสักนิด

รายต่อไปคือกระรอก มันเล่าขำขันของมันไปไม่ทันจบเรื่อง เต่าก็โพล่งหัวเราะออกมาด้วยความขบขันเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายมองตากันด้วยความงุนงง เพราะเรื่องที่กระรอกเล่ายังไม่จบและยังไม่ถึงจุดตลก แลเห็นเต่าหัวเราะขำกลิ้ง ร้องว่า “โอ้ย! สุดยอด! ขำมาก ขำจริง ๆ...”

สิงโตถามเต่าว่า “ขำอะไรวะ? กระรอกยังเล่าไม่จบเลย”

เต่าตอบว่า “โอ้ย! ขำขันของลิงนี่ขำจริง ๆ!”

Cr. วินทร์ เลียววาริณ

ช่างไม่เมตตาเสียเลย ในสมัยที่นิกายเซนกำลังรุ่งเรืองมาก ใครๆก็นิยมนับถือภิกษุในนิกายเซนนี้ มียายแก่คนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของภิกษุองค์หนึ่งซึ่งปฏิบัติเซน ด้วยความศรัทธาอย่างยิ่งมาเป็นเวลาถึงยี่สิบปี แกได้สร้างกุฏิน้อยๆ ที่เหมาะสมอย่างยิ่งให้ และส่งอาหารทุกวันนับว่าพระภิกษุองค์นี้ไม่ลำบากในการที่จะปฏิบัติสมาธิภาวนาอะไรเลย. แต่ในที่สุดล่วงมาถึง 20 ปี ยายแก่เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า พระรูปนี้จะได้อะไรเป็นผลสำเร็จของการปฏิบัติบ้างไหม ที่จะคุ้มกันกับข้าวปลาอาหารของเราที่ส่งเสียมาถึง 20 ปี เพื่อให้รู้ความจริงข้อนี้ แกก็คิดหาหนทาง ในที่สุดพบหนทางของแก คือแกขอร้องหญิงสาวคนหนึ่ง ที่มีรูปร่างหน้าตาท่าทางอะไรๆ ยั่วยวนไปหมด ให้ไปหาพระองค์นั้น โดยบอกว่า ให้ไปที่นั่น แล้วไปกอดพระองค์นั้น แล้วถามว่า เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ผู้หญิงคนนั้นก็ทำอย่างนั้น พระองค์นั้นก็ตอบด้วยถ้อยคำเป็นกาพย์กลอน ซึ่งค่อนข้างเป็นคำประพันธ์ว่า “ต้นไม้แก่ใบโกร๋นบนยอดผา ฤดูหนาวทั้งคราวลมระดมมา อย่ามัวหาไออุ่นแม่คุณเอย” ว่าอย่างนี้เท่านั้น แล้วไม่ว่าอะไรอีก ไม่มีอะไรที่จะพูดกันรู้เรื่องอีก หญิงสาวคนนั้นก็กลับมาบอกยายแก่อย่างที่ว่านั้น ยายแก่ก็ขึ้นเสียงตะบึงขึ้นมาว่า คิดดูทีซิ ฉันเลี้ยงไอ้หมอนี่ มาตั้ง 20 ปีเต็มๆ มันไม่มีอะไรเลย แม้จะเพียงแสดงความเมตตาออกมาสักนิดหนึ่งก็ไม่มี ถึงแม้จะไม่สนองความต้องการทางกิเลสของเขา ก็ควรจะเอ่ยปากเป็นการแสดงความเมตตากรุณา หรือขอบคุณบ้าง. นี่แสดงว่าเขาไม่มีคุณธรรมอะไรเลย ฉะนั้นยายแก่ก็ไปที่นั่นเอาไฟเผากุฏินั้นเสีย และไม่ส่งอาหารอีกต่อไป. นิทานนี้สอนว่า จะเห็นว่าอย่างไรก็ลองคิดดู คนบางคนเขาย่อมต้องการอะไร อย่างที่ตรงกันข้ามกับที่เราจะนึกจะฝันก็เป็นได้ นี่จงดูสติปัญญาของคนแก่ซิ แกมีแบบแห่งความยึดมั่นถือมั่นของแกเองเป็นแบบหนึ่ง ยิ่งแก่ยิ่งหนังเหนียว คือหมายความว่า มันยิ่งยึดมั่นถือมั่นมาก ฉะนั้นถ้าจะไปโกรธคนที่มีความคิดอย่างอื่น มีหลักเกณฑ์อย่างอื่น มีความเคยชินเป็นนิสัยอย่างอื่น นั้นไม่ได้ เราต้องให้อภัย เราไม่โกรธใครเร็วเกินไป หรือเราไม่โกรธใครเลยนั่นแหละจะดีที่สุด และจะเป็นครูบาอาจารย์ที่มีความสุขที่สุด ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดด้วยและสนุกที่สุดด้วย. ฉะนั้น ขอให้จำไว้ว่า คนเรานั้นมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน มีอะไรที่ไม่นึกไม่ฝันกันมากถึงอย่างนี้.

ช่างไม่เมตตาเสียเลย

ในสมัยที่นิกายเซนกำลังรุ่งเรืองมาก ใครๆก็นิยมนับถือภิกษุในนิกายเซนนี้ มียายแก่คนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของภิกษุองค์หนึ่งซึ่งปฏิบัติเซน ด้วยความศรัทธาอย่างยิ่งมาเป็นเวลาถึงยี่สิบปี แกได้สร้างกุฏิน้อยๆ ที่เหมาะสมอย่างยิ่งให้ และส่งอาหารทุกวันนับว่าพระภิกษุองค์นี้ไม่ลำบากในการที่จะปฏิบัติสมาธิภาวนาอะไรเลย. แต่ในที่สุดล่วงมาถึง 20 ปี ยายแก่เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า พระรูปนี้จะได้อะไรเป็นผลสำเร็จของการปฏิบัติบ้างไหม ที่จะคุ้มกันกับข้าวปลาอาหารของเราที่ส่งเสียมาถึง 20 ปี

เพื่อให้รู้ความจริงข้อนี้ แกก็คิดหาหนทาง ในที่สุดพบหนทางของแก คือแกขอร้องหญิงสาวคนหนึ่ง ที่มีรูปร่างหน้าตาท่าทางอะไรๆ ยั่วยวนไปหมด ให้ไปหาพระองค์นั้น โดยบอกว่า ให้ไปที่นั่น แล้วไปกอดพระองค์นั้น แล้วถามว่า เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ผู้หญิงคนนั้นก็ทำอย่างนั้น พระองค์นั้นก็ตอบด้วยถ้อยคำเป็นกาพย์กลอน ซึ่งค่อนข้างเป็นคำประพันธ์ว่า

“ต้นไม้แก่ใบโกร๋นบนยอดผา ฤดูหนาวทั้งคราวลมระดมมา อย่ามัวหาไออุ่นแม่คุณเอย” ว่าอย่างนี้เท่านั้น แล้วไม่ว่าอะไรอีก ไม่มีอะไรที่จะพูดกันรู้เรื่องอีก

หญิงสาวคนนั้นก็กลับมาบอกยายแก่อย่างที่ว่านั้น ยายแก่ก็ขึ้นเสียงตะบึงขึ้นมาว่า คิดดูทีซิ ฉันเลี้ยงไอ้หมอนี่ มาตั้ง 20 ปีเต็มๆ มันไม่มีอะไรเลย แม้จะเพียงแสดงความเมตตาออกมาสักนิดหนึ่งก็ไม่มี ถึงแม้จะไม่สนองความต้องการทางกิเลสของเขา ก็ควรจะเอ่ยปากเป็นการแสดงความเมตตากรุณา หรือขอบคุณบ้าง. นี่แสดงว่าเขาไม่มีคุณธรรมอะไรเลย ฉะนั้นยายแก่ก็ไปที่นั่นเอาไฟเผากุฏินั้นเสีย และไม่ส่งอาหารอีกต่อไป.

นิทานนี้สอนว่า จะเห็นว่าอย่างไรก็ลองคิดดู คนบางคนเขาย่อมต้องการอะไร อย่างที่ตรงกันข้ามกับที่เราจะนึกจะฝันก็เป็นได้ นี่จงดูสติปัญญาของคนแก่ซิ แกมีแบบแห่งความยึดมั่นถือมั่นของแกเองเป็นแบบหนึ่ง ยิ่งแก่ยิ่งหนังเหนียว คือหมายความว่า มันยิ่งยึดมั่นถือมั่นมาก ฉะนั้นถ้าจะไปโกรธคนที่มีความคิดอย่างอื่น มีหลักเกณฑ์อย่างอื่น มีความเคยชินเป็นนิสัยอย่างอื่น นั้นไม่ได้ เราต้องให้อภัย เราไม่โกรธใครเร็วเกินไป หรือเราไม่โกรธใครเลยนั่นแหละจะดีที่สุด และจะเป็นครูบาอาจารย์ที่มีความสุขที่สุด ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดด้วยและสนุกที่สุดด้วย. ฉะนั้น ขอให้จำไว้ว่า คนเรานั้นมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน มีอะไรที่ไม่นึกไม่ฝันกันมากถึงอย่างนี้.

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กบฟุ้งซ่าน…ข้างกำแพงวัด (นิทานสอนใจ) กบฟุ้งซ่านตัวหนึ่งนั่งอยู่ข้างกำแพงวัด ทุกเช้ามันเฝ้าดูพระออก บิณฑบาตตั้งแต่เช้ามืด พอพระกลับมาถึงวัดเพื่อฉันเช้า...กบมัน นึกในใจ อยากเกิดเป็นพระ เป็นพระสบายดี มีคนถวายอาหาร ให้กินทุกวัน เมื่อพระฉันเสร็จ ก็นำอาหารที่เหลือมากมายนั้น ไปให้เด็กวัดกิน ต่อ แล้วเด็กวัดก็กินกันอย่างเอร็ดอร่อย ตอนนี้กบเปลี่ยนใจ อยากเกิดเป็นเด็กวัดแล้ว เพราะสบายกว่าพระ มันเห็นเด็กวัด หลายคนตื่นสายได้ และไม่ต้องออกตามพระไปบิณฑบาตก็ได้ สบายกว่าเยอะเลย เมื่อเด็กวัดกินเสร็จก็โกยอาหารที่เหลือทั้งหมดให้หมาวัดไปกิน แล้วเด็กวัดทุกคนก็ไปช่วยกันล้างจาน ถึงตอนนี้กบเปลี่ยนใจ อยากเกิดเป็นหมาวัดแล้ว เพราะไม่ต้องล้างจานเหมือนเด็กวัด สบายกว่า พอหมาวัดกินอาหารเสร็จ ก็แยกย้ายไปทำหน้าที่เฝ้าบริเวณวัด คอยเห่าคนแปลกหน้า ฝูงแมลงวันก็บินมาตอม และกินอาหาร ต่อจากหมาวัด ถึงตอนนี้กบเปลี่ยนใจอีกแล้ว อยากเกิดเป็น แมลงวัน เพราะสบายที่สุดไม่ต้องทำอะไรเลย หนำซ้ำยังมีกอง อาหารให้กินไม่มีหมดด้วย ขณะที่เจ้ากบฟุ้งซ่านกำลังคิดเพลิน ๆ อยู่นั้น พอดีหันมาเห็น แมลงวันบินมาใกล้ๆ จึงใช้ลิ้นตวัดเอาแมลงวันเข้าปากตัวเอง โดยสัญชาตญาณ ถึงตอนนี้กบฟุ้งซ่านจึงบรรลุธรรมฉับพลัน(Sudden knowledge) คิดได้ว่า เอ้อ!! เป็นตัวของเราเองนี้แหละ ดีที่สุดเลย (The best is to be yourself) จงเชื่อมั่นในตัวเอง (Be in yourself and be confident) ภาพและที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1511228 บทความคุณภาพจากเพจ "เรื่องดีๆมีข้อคิด" โลกสวย : http://on.fb.me/1R2Asvx สาระน่ารู้ดีๆเรื่องกาแฟ : http://on.fb.me/17FdAN3 มหัศจรรย์เห็ดหลินจือ : http://on.fb.me/17y51Cs ขำขัน มันส์ฮา : http://on.fb.me/1cnaPFM สูตรเด็ด เคล็ดอร่อย : http://on.fb.me/1YY0mV

กบฟุ้งซ่าน…ข้างกำแพงวัด (นิทานสอนใจ)

กบฟุ้งซ่านตัวหนึ่งนั่งอยู่ข้างกำแพงวัด  ทุกเช้ามันเฝ้าดูพระออก
บิณฑบาตตั้งแต่เช้ามืด พอพระกลับมาถึงวัดเพื่อฉันเช้า...กบมัน
นึกในใจ    อยากเกิดเป็นพระ  เป็นพระสบายดี  มีคนถวายอาหาร
ให้กินทุกวัน

เมื่อพระฉันเสร็จ ก็นำอาหารที่เหลือมากมายนั้น ไปให้เด็กวัดกิน
ต่อ   แล้วเด็กวัดก็กินกันอย่างเอร็ดอร่อย     ตอนนี้กบเปลี่ยนใจ  
อยากเกิดเป็นเด็กวัดแล้ว   เพราะสบายกว่าพระ   มันเห็นเด็กวัด
หลายคนตื่นสายได้ และไม่ต้องออกตามพระไปบิณฑบาตก็ได้ 
สบายกว่าเยอะเลย

เมื่อเด็กวัดกินเสร็จก็โกยอาหารที่เหลือทั้งหมดให้หมาวัดไปกิน  
แล้วเด็กวัดทุกคนก็ไปช่วยกันล้างจาน    ถึงตอนนี้กบเปลี่ยนใจ
อยากเกิดเป็นหมาวัดแล้ว เพราะไม่ต้องล้างจานเหมือนเด็กวัด
สบายกว่า

พอหมาวัดกินอาหารเสร็จ  ก็แยกย้ายไปทำหน้าที่เฝ้าบริเวณวัด 
คอยเห่าคนแปลกหน้า   ฝูงแมลงวันก็บินมาตอม และกินอาหาร
ต่อจากหมาวัด     ถึงตอนนี้กบเปลี่ยนใจอีกแล้ว   อยากเกิดเป็น
แมลงวัน เพราะสบายที่สุดไม่ต้องทำอะไรเลย หนำซ้ำยังมีกอง
อาหารให้กินไม่มีหมดด้วย

ขณะที่เจ้ากบฟุ้งซ่านกำลังคิดเพลิน ๆ อยู่นั้น     พอดีหันมาเห็น
แมลงวันบินมาใกล้ๆ   จึงใช้ลิ้นตวัดเอาแมลงวันเข้าปากตัวเอง
โดยสัญชาตญาณ

ถึงตอนนี้กบฟุ้งซ่านจึงบรรลุธรรมฉับพลัน(Sudden knowledge)  
คิดได้ว่า เอ้อ!! เป็นตัวของเราเองนี้แหละ ดีที่สุดเลย (The best
is to be yourself)

จงเชื่อมั่นในตัวเอง (Be in yourself and be confident)

ภาพและที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1511228
บทความคุณภาพจากเพจ "เรื่องดีๆมีข้อคิด"

โลกสวย : http://on.fb.me/1R2Asvx
สาระน่ารู้ดีๆเรื่องกาแฟ : http://on.fb.me/17FdAN3
มหัศจรรย์เห็ดหลินจือ : http://on.fb.me/17y51Cs
ขำขัน มันส์ฮา : http://on.fb.me/1cnaPFM
สูตรเด็ด เคล็ดอร่อย : http://on.fb.me/1YY0mV

***อุปสาฬหกชาดก หาที่ตาย*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพราหมณ์อุปสาฬกะ ผู้เข้าใจว่ามีป่าช้าบริสุทธ์ เรื่องมีอยู่ว่า พราหมณ์คนนี้มีทรัพย์สมบัติมากแต่เป็นคนเจ้าทิฏฐิ ถึงบ้านจะอยู่ติดกับวัดเชตวัน แต่ก็ไม่เคยถวายอะไรแก่พระพุทธเจ้าเลย เข้าทำนองใกล้เกลือกินด่าง เขามีลูกชายอยู่คนหนึ่งเป็นคนฉลาด มีความรู้ดี พอพราหมณ์แก่ชราลง วันหนึ่งจึงเรียกลูกชายมาหาแล้วพูดว่า "ลูกรัก ถ้าพ่อตายแล้ว เจ้าอย่าเอาศพพ่อไปเผาในป่าช้าที่ปะปนกับคนอื่นนะ ให้เอาศพพ่อไปเผาในป่าช้าใหม่ที่ไม่เคยเผาใครมาก่อนเลยนะ" ลูกชายพูดว่า "พ่อครับ ผมไม่รู้ว่าจะุถูกใจพ่อหรือเปล่า ทางที่ดีพ่อพาผมไปเลือกสถานที่ไว้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้จะดีกว่า" วันนั้นพราหมณ์กับลูกชายจึงแสวงหาที่เผาศพ ออกจากเมืองมุ่งตรงไปที่ยอดเขาคิชกูฏ เลือกได้ที่แห่งหนึ่งแล้วก็ลงจากยอดเขามา ในเวลารุ่งอรุณของวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยดสดาปัตติมรรคของพ่อลูกคู่นั้น ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จไปประทับนั่งรอสองพ่อลูกลงจากเขามา พอพวกเขาเดินลงมาถึงที่ประทับจึงตรัสถามว่า "ไปไหนกันมาละท่านพราหมณ์" ลูกชายจึงกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า "ถ้าเช่นนั้น เราจะไปดูสถานที่ตรงนั้นด้วย" ว่าแล้วก็พาสองพ่อลูกกลับขึ้นเขาไปดูสถานที่นั้นอีกครั้ง พอขึ้นไปถึงที่นั้น ลูกชายจึงชี้ให้ดูและกราบทูลว่า "ตรงระหว่างภูเขาสามลูกนี่แหละพระเจ้าข้า" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "พ่อหนุ่ม พ่อของเจ้ามิใช่จะเลือกป่าช้าเผาในบัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตก็เคยมาแล้วและที่ตรงนี้ก็เคยเผาเขามาแล้ว ๑๔,๐๐๐ ชาติด้วย" จึงทรงนำอดีตนิทานมาสาธก และตรัสพระคาถาว่า "พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬกะ ได้ถูกพวกญาติเผาในสถานที่นี้ จำนวน ๑๔,๐๐๐ ชาติแล้ว สถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่ในผู้ใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบหาผู้นั้น (เพราะ) คุณธรรมชื่อว่าไม่ตายในโลก" เมื่อตรัสพระธรรมเทศนาจบทำให้ ๒ พ่อลูกได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ณ ที่ตรงนั้นเอง นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าไปแสวงหาสถานที่ไม่เคยมีคนนอนตายบนพื้นโลกนี้ให้ยากเลย เพราะสถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก

***อุปสาฬหกชาดก หาที่ตาย***

     ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพราหมณ์อุปสาฬกะ ผู้เข้าใจว่ามีป่าช้าบริสุทธ์ เรื่องมีอยู่ว่า
     พราหมณ์คนนี้มีทรัพย์สมบัติมากแต่เป็นคนเจ้าทิฏฐิ ถึงบ้านจะอยู่ติดกับวัดเชตวัน แต่ก็ไม่เคยถวายอะไรแก่พระพุทธเจ้าเลย เข้าทำนองใกล้เกลือกินด่าง เขามีลูกชายอยู่คนหนึ่งเป็นคนฉลาด มีความรู้ดี พอพราหมณ์แก่ชราลง

     วันหนึ่งจึงเรียกลูกชายมาหาแล้วพูดว่า "ลูกรัก ถ้าพ่อตายแล้ว เจ้าอย่าเอาศพพ่อไปเผาในป่าช้าที่ปะปนกับคนอื่นนะ ให้เอาศพพ่อไปเผาในป่าช้าใหม่ที่ไม่เคยเผาใครมาก่อนเลยนะ"

     ลูกชายพูดว่า "พ่อครับ ผมไม่รู้ว่าจะุถูกใจพ่อหรือเปล่า ทางที่ดีพ่อพาผมไปเลือกสถานที่ไว้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้จะดีกว่า"

     วันนั้นพราหมณ์กับลูกชายจึงแสวงหาที่เผาศพ ออกจากเมืองมุ่งตรงไปที่ยอดเขาคิชกูฏ เลือกได้ที่แห่งหนึ่งแล้วก็ลงจากยอดเขามา ในเวลารุ่งอรุณของวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยดสดาปัตติมรรคของพ่อลูกคู่นั้น ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จไปประทับนั่งรอสองพ่อลูกลงจากเขามา พอพวกเขาเดินลงมาถึงที่ประทับจึงตรัสถามว่า "ไปไหนกันมาละท่านพราหมณ์" ลูกชายจึงกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ

     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ถ้าเช่นนั้น เราจะไปดูสถานที่ตรงนั้นด้วย" ว่าแล้วก็พาสองพ่อลูกกลับขึ้นเขาไปดูสถานที่นั้นอีกครั้ง พอขึ้นไปถึงที่นั้น ลูกชายจึงชี้ให้ดูและกราบทูลว่า "ตรงระหว่างภูเขาสามลูกนี่แหละพระเจ้าข้า" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "พ่อหนุ่ม พ่อของเจ้ามิใช่จะเลือกป่าช้าเผาในบัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตก็เคยมาแล้วและที่ตรงนี้ก็เคยเผาเขามาแล้ว ๑๔,๐๐๐ ชาติด้วย" จึงทรงนำอดีตนิทานมาสาธก และตรัสพระคาถาว่า

     "พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬกะ ได้ถูกพวกญาติเผาในสถานที่นี้ จำนวน ๑๔,๐๐๐ ชาติแล้ว สถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่ในผู้ใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบหาผู้นั้น (เพราะ) คุณธรรมชื่อว่าไม่ตายในโลก"

     เมื่อตรัสพระธรรมเทศนาจบทำให้ ๒ พ่อลูกได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ณ ที่ตรงนั้นเอง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าไปแสวงหาสถานที่ไม่เคยมีคนนอนตายบนพื้นโลกนี้ให้ยากเลย เพราะสถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก

***วรุณชาดก การทำไม่ถูกขั้นตอน*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระติสสเถระ บุตรพ่อค้าเมืองสาวัตถี ผู้เกียจคร้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ท่านหนึ่ง มีลูกศิษย์อยู่ประมาณ ๕๐๐ คน วันหนึ่งพวกลูกศิษย์พากันเข้าป่าไปหาฟืน ในจำนวนนั้นมีมานพผู้เกียจคร้าน อยู่คนหนึ่ง ถือโอกาสที่เพื่อนเขาหักฟืน ไปปูผ้านอนหลับใต้ต้นกุ่ม พอเพื่อนเขามัดฟืนได้แล้ว ก็หาบฟืนเดินผ่านไปใช้เท้าเตะปลุกเขาให้ตื่นขึ้น เขารีบขยี่ตา ปีนขึ้นต้นกุ่มจับได้กิ่งไม้สดกิ่งหนึ่งก็เหนี่ยวลงมาหักเพราะนึกว่าเป็นกิ่งไม้แห้ง กิ่งไม้สดนั้นก็ดีดตาข้างหนึ่งของเขาบอด เขารีบรวบรวมได้ฟืนหน่อยหนึ่งแล้วก็ตามเพื่อนกลับสำนัก เย็นวันนั้น ชาวบ้านนอกมาเชิญพราหมณ์ไปประกอบพิธีในวันพรุ่งนี้ ขอให้พราหมณ์รับประทานข้าวเช้าก่อนไปเพราะบ้านอยู่ไกล อาจารย์จึงกำชับให้หญิงรับใช้ตื่นต้มข้าวต้มตั้งแต่เช้าตรู่ พอถึงเวลาใกล้รุ่งหญิงรับใช้ ไปนำฟืนไม้กุ่มสดที่มานพนั้นนำมาเป็นฟืนก่อไฟ จนตะวันขึ้นไฟก็ไม่ติด ทำให้พวกมานพไม่ได้ทานข้าวต้ม จึงไปเล่าเรื่องต่างๆให้อาจารย์ฟัง อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า " งานซึ่งควรทำก่อน เขาทำทีหลัง เขาจะเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมานพหักไม้กุ่มเดือดร้อนอยู่ " นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรทำการงานตามลำดับความสำคัญรีบด่วน

***วรุณชาดก  การทำไม่ถูกขั้นตอน***

     ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระติสสเถระ บุตรพ่อค้าเมืองสาวัตถี ผู้เกียจคร้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ท่านหนึ่ง มีลูกศิษย์อยู่ประมาณ ๕๐๐ คน วันหนึ่งพวกลูกศิษย์พากันเข้าป่าไปหาฟืน ในจำนวนนั้นมีมานพผู้เกียจคร้าน อยู่คนหนึ่ง ถือโอกาสที่เพื่อนเขาหักฟืน ไปปูผ้านอนหลับใต้ต้นกุ่ม

     พอเพื่อนเขามัดฟืนได้แล้ว ก็หาบฟืนเดินผ่านไปใช้เท้าเตะปลุกเขาให้ตื่นขึ้น เขารีบขยี่ตา ปีนขึ้นต้นกุ่มจับได้กิ่งไม้สดกิ่งหนึ่งก็เหนี่ยวลงมาหักเพราะนึกว่าเป็นกิ่งไม้แห้ง กิ่งไม้สดนั้นก็ดีดตาข้างหนึ่งของเขาบอด เขารีบรวบรวมได้ฟืนหน่อยหนึ่งแล้วก็ตามเพื่อนกลับสำนัก

     เย็นวันนั้น ชาวบ้านนอกมาเชิญพราหมณ์ไปประกอบพิธีในวันพรุ่งนี้ ขอให้พราหมณ์รับประทานข้าวเช้าก่อนไปเพราะบ้านอยู่ไกล อาจารย์จึงกำชับให้หญิงรับใช้ตื่นต้มข้าวต้มตั้งแต่เช้าตรู่ พอถึงเวลาใกล้รุ่งหญิงรับใช้ ไปนำฟืนไม้กุ่มสดที่มานพนั้นนำมาเป็นฟืนก่อไฟ จนตะวันขึ้นไฟก็ไม่ติด ทำให้พวกมานพไม่ได้ทานข้าวต้ม จึงไปเล่าเรื่องต่างๆให้อาจารย์ฟัง อาจารย์จึงกล่าวคาถาว่า
     " งานซึ่งควรทำก่อน เขาทำทีหลัง เขาจะเดือดร้อนในภายหลัง
       เหมือนมานพหักไม้กุ่มเดือดร้อนอยู่ "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ควรทำการงานตามลำดับความสำคัญรีบด่วน

***นกุลชาดก พังพอนกับงู*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการทะเลาะกันของอำมาตย์ ๒ คน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรสมาบัติอยู่ป่าหิมพานต์ มีพังพอนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในจอมปลวกที่จงกรมของฤาษีนั้น และมีงูตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่งใกล้จอมปลวกนั้น งูและพังพอนไม่ถูกกันเป็นคู่อริกันตลอดกาล ฤาษีเห็นสัตว์ทั้งสองทะเลาะกัน จึงกล่าวถึงโทษของการทะเลาะกันและอานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสอง จนทำให้งูและพังพอนเลิกทะเลาะกันกลับมาเป็นมิตรกันในที่สุด ถึงกระนั้นพังพอนก็ไม่ไว้ใจงู เวลางูออกไปข้างนอกพังพอนก็จะนอนอ้าปากหันหัวออกนอกโพรง แม้หลับก็ยังนอนอ้าปากอยู่ ฤาษีเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นของมันจึงถามมันว่า "พังพอน..เจ้าได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรูแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงตัวเจ้าอีกละ" พังพอนตอบว่า "พระคุณเจ้า เราไม่ควรดูหมิ่นศัตรู ควรระแวงไว้เสมอ" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า "บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยที่เกิดขึ้นจากมิตรย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก" ฤาษีจึงกล่าวสอนพูดให้พังพอนเลิกระแวงว่า "เจ้าอย่ากลัวไปเลย เราได้ทำให้งูไม่ทำร้ายเจ้าแล้ว เจ้าเลิกระแวงได้แล้วละ" งูและพังพอนนั้นก็เป็นอยู่อย่างสันติจนตราบสิ้นชีวิต นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อยู่ร่วมกันไม่ควรทะเลาะกัน เพราะจะนำมาซึ่งความระแวงกัน

***นกุลชาดก พังพอนกับงู***

   ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการทะเลาะกันของอำมาตย์ ๒ คน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรสมาบัติอยู่ป่าหิมพานต์ มีพังพอนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในจอมปลวกที่จงกรมของฤาษีนั้น และมีงูตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่งใกล้จอมปลวกนั้น งูและพังพอนไม่ถูกกันเป็นคู่อริกันตลอดกาล

ฤาษีเห็นสัตว์ทั้งสองทะเลาะกัน จึงกล่าวถึงโทษของการทะเลาะกันและอานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสอง จนทำให้งูและพังพอนเลิกทะเลาะกันกลับมาเป็นมิตรกันในที่สุด ถึงกระนั้นพังพอนก็ไม่ไว้ใจงู เวลางูออกไปข้างนอกพังพอนก็จะนอนอ้าปากหันหัวออกนอกโพรง แม้หลับก็ยังนอนอ้าปากอยู่

     ฤาษีเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นของมันจึงถามมันว่า      "พังพอน..เจ้าได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรูแล้วมิใช่หรือ เหตุไฉนจึงนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงตัวเจ้าอีกละ"
     พังพอนตอบว่า "พระคุณเจ้า เราไม่ควรดูหมิ่นศัตรู ควรระแวงไว้เสมอ"
แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

"บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยที่เกิดขึ้นจากมิตรย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก"

ฤาษีจึงกล่าวสอนพูดให้พังพอนเลิกระแวงว่า "เจ้าอย่ากลัวไปเลย เราได้ทำให้งูไม่ทำร้ายเจ้าแล้ว เจ้าเลิกระแวงได้แล้วละ" งูและพังพอนนั้นก็เป็นอยู่อย่างสันติจนตราบสิ้นชีวิต

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อยู่ร่วมกันไม่ควรทะเลาะกัน เพราะจะนำมาซึ่งความระแวงกัน

***สาเกตชาดก คนระลึกชาติได้*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดอัญชนวัน เมืองสาเกต ทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า ... เช้าตรู่วันหนึ่ง พระพุทธองค์ พร้อมหมู่ภิกษุสงฆ์ ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาเกตพบพราหมณ์ผู้หนึ่งเดินสวนไปนอกเมือง แล้วกรูเข้ามาหมอบแทบเท้าจับข้อเท้าไว้แน่นแล้วพลางกล่าวว่า " ลูก ธรรมดาบุตร ต้องปรนนิบัติมารดาบิดา ในยามแก่ชรามิใช่หรือ ทำไม ลูกจึงไม่มาเยี่ยมเราเลย ไป พ่อจะพาไปพบแม่เจ้า " แล้วจึงนำไปเรือนของตน พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนืออาสนะพร้อมภิกษุสงฆ์ นางพราหมณีมาหมอบแทบเท้าแล้วร่ำไห้คร่ำครวญเช่นกันกับพราหมณ์แล้วแนะนำให้บุตรธิดาไหว้พี่ชาย วันนั้น ครอบครัวของพราหมณ์ได้ถวายมหาทานแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ได้ตรัสชราสูตรทำให้พราหมณ์ทั้งสองเป็นอนาคามีแล้วเสด็จกลับวัด ตอนเย็นพวกภิกษุตั้งความสงสัยว่า " ทำไม พราหมณ์ทั้งสองจึงเรียกตนเองว่า เป็นพ่อเป็นแม่ของพระตถาคต " พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " พราหมณ์เคยเป็นพ่อของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ นางพราหมณีเคยเป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติติดต่อกันไม่ขาดสาย " แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า " บุคคลมีจิตใจจดจ่อและเลื่อมใสอยู่ในผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมในผู้นั้น แม้ทั้ง ๆ ที่ ไม่เคยเห็นกันมาก่อนเลย " นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนจะเป็นญาติมิตรสหายกันเป็นเรื่องอดีตชาติแต่ปางก่อน

***สาเกตชาดก คนระลึกชาติได้***

     ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดอัญชนวัน เมืองสาเกต ทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า ...

เช้าตรู่วันหนึ่ง พระพุทธองค์ พร้อมหมู่ภิกษุสงฆ์ ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาเกตพบพราหมณ์ผู้หนึ่งเดินสวนไปนอกเมือง แล้วกรูเข้ามาหมอบแทบเท้าจับข้อเท้าไว้แน่นแล้วพลางกล่าวว่า
     " ลูก ธรรมดาบุตร ต้องปรนนิบัติมารดาบิดา ในยามแก่ชรามิใช่หรือ ทำไม ลูกจึงไม่มาเยี่ยมเราเลย ไป พ่อจะพาไปพบแม่เจ้า "
แล้วจึงนำไปเรือนของตน

พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนืออาสนะพร้อมภิกษุสงฆ์ นางพราหมณีมาหมอบแทบเท้าแล้วร่ำไห้คร่ำครวญเช่นกันกับพราหมณ์แล้วแนะนำให้บุตรธิดาไหว้พี่ชาย วันนั้น ครอบครัวของพราหมณ์ได้ถวายมหาทานแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ได้ตรัสชราสูตรทำให้พราหมณ์ทั้งสองเป็นอนาคามีแล้วเสด็จกลับวัด

ตอนเย็นพวกภิกษุตั้งความสงสัยว่า
      " ทำไม พราหมณ์ทั้งสองจึงเรียกตนเองว่า เป็นพ่อเป็นแม่ของพระตถาคต "
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
      " พราหมณ์เคยเป็นพ่อของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ นางพราหมณีเคยเป็นมารดาของเรา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติติดต่อกันไม่ขาดสาย "
แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า
     " บุคคลมีจิตใจจดจ่อและเลื่อมใสอยู่ในผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมในผู้นั้น
       แม้ทั้ง ๆ ที่ ไม่เคยเห็นกันมาก่อนเลย "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนจะเป็นญาติมิตรสหายกันเป็นเรื่องอดีตชาติแต่ปางก่อน

***คิชฌชาดก พญาแร้ง*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสว่า "สาธุ สาธุ โบราณบัณฑิตได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติ เพื่อตอบแทนบุญคุณส่วนมารดาบิดาถือเป็นภาระของภิกษุโดยแท้" แล้วทรงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพยาแร้งเลี้ยงดูบิดามารดาอยู่ที่คิชฌบรรพต ต่อมาวันหนึ่งเกิดพายุฝนห่าใหญ่พัดกระหน่ำ ฝูงแร้งไม่สามารถทนพายุฝนได้ พากันบินหนีตายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี วันนั้น เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ออกจากเมืองจะไปอาบน้ำเห็นฝูงแร้งเปียกมอมแมมอยู่ จึงหอบไปรวมกันในที่แห่งหนึ่ง ก่อไฟให้ผิงแล้วนำไปไว้ที่ป่าช้า นำเนื้อโคมาเลี้ยงพวกแร้งเป็นอย่างดี เมื่อพายุฝนหยุดแล้ว ฝูงแร้งมีร่างกายเข้มแข็งแล้วพากันบินกลับรังที่ภูเขาตามเดิม วันหนึ่งฝูงแร้งจับกลุ่มปรึกษากันว่า "พวกเรารอดตายมาได้ ก็เพราะการช่วยเหลือของเศรษฐีคนหนึ่ง พวกเราจะตอบแทนบุญคุณของท่านอย่างไรดี" จึงตกลงร่วมกันว่า "ตั้งแต่วันนี้ไป แร้งตัวใดได้ผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มใด ๆ ก็พึงคาบไปทิ้งที่บ้านเศรษฐีนะ" นับแต่วันนั้นมาฝูงแร้งก็ดูทีเผลอของพวกมนุษย์ที่ตากผ้าไว้ที่กลางแดด ต่างพากันโฉบเฉี่ยวเอาผ้าไปทิ้งไว้ที่บ้านเศรษฐีเป็นประจำ เศรษฐีพอเห็นผ้านั้นแล้ว ก็นำไปเก็บไว้ในที่ส่วนหนึ่งต่างหากไม่นำเอามาใช้ ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อนเพราะฝูงแร้งลักผ้าไป จึงเข้ากราบทูลพระราชา พระองค์รับสั่งให้ดักบ่วงและข่ายเพื่อจับพญาแร้ง เมื่อชาวเมืองจับพญาแร้งได้แล้ว จะนำไปถวายพระราชา เศรษฐีก็กำลังจะเข้าเฝ้าพระราชาเช่นกัน จึงเดินตามกันไป พระราชาตรัสถามพญาแร้งว่า "พวกเจ้าคาบผ้าชาวเมืองไปหรือ?" พญาแร้งตอบว่า "จริง พระเจ้าข้า" พระราชา "พวกเจ้าเอาไปให้ใคร" พญาแร้ง "ให้เศรษฐี พระเจ้าข้า" พระราชา "ทำไมละ" พญาแร้ง "เพราะเศรษฐีช่วยเหลือชีวิตของพวกข้าพระองค์จึงต้องตอบแทนบุญคุณ .. พระเจ้าข้า" พระราชาตรัสถามอีกว่า "เขาลือกันว่า แร้งเห็นซากศพได้ ถึง ๑๐๐ โยชน์มิใช่หรือ เหตุไร พวกเจ้ามาใกล้ข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้สึกตัวเล่า" พญาแร้งตอบเป็นคาถาว่า "เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต เมื่อนั้นนถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้" พระราชาตรัสถามเศรษฐีว่า "เป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ท่านเศรษฐี" เศรษฐีได้กราบทูลว่า "จริงพระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้ไปเถิด ข้าพระองค์จะคืนผ้าเหล่านั้นแก่เจ้าของเดิม พระเจ้าข้า" พระราชาจึงรับสั่งให้ปล่อยแร้งไปตามเดิม เศรษฐีก็คืนผ้าให้แก่เจ้าของเดิมไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : บุญคุณต้องตอบแทนแม้แต่สัตว์เดรัจฉานยังรู้จักตอบแทนบุญคุณ และอย่าได้ประมาทในวัยเพราะความตายไม่เคยเว้นใคร Cr.ภาพ DMC. ข้อมูลนิทาน ธรรมไทย.

***คิชฌชาดก พญาแร้ง***

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสว่า "สาธุ สาธุ โบราณบัณฑิตได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติ เพื่อตอบแทนบุญคุณส่วนมารดาบิดาถือเป็นภาระของภิกษุโดยแท้" แล้วทรงนำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพยาแร้งเลี้ยงดูบิดามารดาอยู่ที่คิชฌบรรพต ต่อมาวันหนึ่งเกิดพายุฝนห่าใหญ่พัดกระหน่ำ ฝูงแร้งไม่สามารถทนพายุฝนได้ พากันบินหนีตายเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี

วันนั้น เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ออกจากเมืองจะไปอาบน้ำเห็นฝูงแร้งเปียกมอมแมมอยู่ จึงหอบไปรวมกันในที่แห่งหนึ่ง ก่อไฟให้ผิงแล้วนำไปไว้ที่ป่าช้า นำเนื้อโคมาเลี้ยงพวกแร้งเป็นอย่างดี
เมื่อพายุฝนหยุดแล้ว ฝูงแร้งมีร่างกายเข้มแข็งแล้วพากันบินกลับรังที่ภูเขาตามเดิม วันหนึ่งฝูงแร้งจับกลุ่มปรึกษากันว่า
          "พวกเรารอดตายมาได้ ก็เพราะการช่วยเหลือของเศรษฐีคนหนึ่ง พวกเราจะตอบแทนบุญคุณของท่านอย่างไรดี" จึงตกลงร่วมกันว่า
          "ตั้งแต่วันนี้ไป แร้งตัวใดได้ผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มใด ๆ ก็พึงคาบไปทิ้งที่บ้านเศรษฐีนะ"
นับแต่วันนั้นมาฝูงแร้งก็ดูทีเผลอของพวกมนุษย์ที่ตากผ้าไว้ที่กลางแดด ต่างพากันโฉบเฉี่ยวเอาผ้าไปทิ้งไว้ที่บ้านเศรษฐีเป็นประจำ เศรษฐีพอเห็นผ้านั้นแล้ว ก็นำไปเก็บไว้ในที่ส่วนหนึ่งต่างหากไม่นำเอามาใช้

ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อนเพราะฝูงแร้งลักผ้าไป จึงเข้ากราบทูลพระราชา พระองค์รับสั่งให้ดักบ่วงและข่ายเพื่อจับพญาแร้ง เมื่อชาวเมืองจับพญาแร้งได้แล้ว จะนำไปถวายพระราชา เศรษฐีก็กำลังจะเข้าเฝ้าพระราชาเช่นกัน จึงเดินตามกันไป
          พระราชาตรัสถามพญาแร้งว่า "พวกเจ้าคาบผ้าชาวเมืองไปหรือ?"
          พญาแร้งตอบว่า "จริง พระเจ้าข้า"
          พระราชา "พวกเจ้าเอาไปให้ใคร"
          พญาแร้ง "ให้เศรษฐี พระเจ้าข้า"
          พระราชา "ทำไมละ"
          พญาแร้ง "เพราะเศรษฐีช่วยเหลือชีวิตของพวกข้าพระองค์จึงต้องตอบแทนบุญคุณ .. พระเจ้าข้า"
          พระราชาตรัสถามอีกว่า "เขาลือกันว่า แร้งเห็นซากศพได้ ถึง ๑๐๐ โยชน์มิใช่หรือ เหตุไร พวกเจ้ามาใกล้ข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้สึกตัวเล่า"
          พญาแร้งตอบเป็นคาถาว่า
          "เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต เมื่อนั้นนถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้"
          พระราชาตรัสถามเศรษฐีว่า "เป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ท่านเศรษฐี"
          เศรษฐีได้กราบทูลว่า "จริงพระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้ไปเถิด ข้าพระองค์จะคืนผ้าเหล่านั้นแก่เจ้าของเดิม พระเจ้าข้า"
          พระราชาจึงรับสั่งให้ปล่อยแร้งไปตามเดิม เศรษฐีก็คืนผ้าให้แก่เจ้าของเดิมไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : บุญคุณต้องตอบแทนแม้แต่สัตว์เดรัจฉานยังรู้จักตอบแทนบุญคุณ และอย่าได้ประมาทในวัยเพราะความตายไม่เคยเว้นใคร

Cr.ภาพ DMC.
ข้อมูลนิทาน ธรรมไทย.

***อุจฉังคชาดก หญิงเจ้าปัญญา*** ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภหญิงชนบทคนหนึ่ง ... เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พวกโจรป่าได้ปล้นชาวบ้านแล้วนำทรัพย์สินหนีไป พวกทหารตามจับทั้งคืนจนรุ่งแจ้ง ในที่ไม่ไกลจากดงมีชายอยู่ ๓ คน กำลังไถนาอยู่ ทหารตามจับโจรมาถึงที่นั้น จึงจับชายทั้ง ๓ คนไปด้วยคิดว่า " พวกโจรปล้นแล้วมาทำทีเป็นไถนาอยู่ " นำไปถวายพระเจ้าโกศล ลำดับนั้น มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง ร่ำไห้มาหาพระราชา ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่นาง เดินวนเวียนตามพระราชวังไปมา พระราชาจึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าห่มแก่นาง ทหารได้นำผ้าห่มไปให้นาง นางกลับบอกว่านางไม่ต้องการผ้านี้ นางต้องการผ้าห่มคือสามี พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเรื่องนั้น นางจึงกราบทูลว่า " สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาเป็นแสน ก็ยังชื่อว่าเป็นหญิงเปลือยอยู่นั้นเอง พระเจ้าค่ะ " บัณฑิตจึงกล่าวว่า " แม่น้ำที่ไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจากผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย " พระราชาทรงเลื่อมใสนาง จึงตรัสถามว่า " ชาย ๓ คนนี้เป็นอะไรกับเจ้า " นางกราบทูลว่า " คนหนึ่งเป็นสามี คนหนึ่งเป็นพี่ชาย และคนหนึ่งเป็นลูกชาย พระเจ้าค่ะ " พระราชาตรัสว่า " ในชาย ๓ คนนี้ ให้เจ้าเลือกเอาหนึ่งคน เจ้าจะเอาใคร " นางกราบทูลว่า " เมื่อหม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีและบุตรต้องหาได้ แต่เพราะมารดาและบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชายคนเดียวหาได้ยาก ขอพระองค์พระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ " พระราชาทรงพอพระทัย มีความยินดียิ่ง จึงทรงปล่อยคนทั้ง ๓ ไป เพราะอาศัยหญิงนั้นคนเดียว นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หญิงฉลาดย่อมเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ข้อมูล เวปไซต์ ธรรมะไทย ภาพ เวปรักบ้านเกิด

***อุจฉังคชาดก หญิงเจ้าปัญญา***

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภหญิงชนบทคนหนึ่ง ...

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พวกโจรป่าได้ปล้นชาวบ้านแล้วนำทรัพย์สินหนีไป พวกทหารตามจับทั้งคืนจนรุ่งแจ้ง ในที่ไม่ไกลจากดงมีชายอยู่ ๓ คน กำลังไถนาอยู่ ทหารตามจับโจรมาถึงที่นั้น จึงจับชายทั้ง ๓ คนไปด้วยคิดว่า " พวกโจรปล้นแล้วมาทำทีเป็นไถนาอยู่ " นำไปถวายพระเจ้าโกศล

ลำดับนั้น มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง ร่ำไห้มาหาพระราชา ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่มแก่นาง เดินวนเวียนตามพระราชวังไปมา พระราชาจึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าห่มแก่นาง ทหารได้นำผ้าห่มไปให้นาง นางกลับบอกว่านางไม่ต้องการผ้านี้ นางต้องการผ้าห่มคือสามี

พระราชาจึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเรื่องนั้น นางจึงกราบทูลว่า
    " สามีชื่อว่าเป็นผ้าห่มของสตรีโดยแท้ เพราะเมื่อไม่มีสามี แม้สตรีจะนุ่งผ้าราคาเป็นแสน ก็ยังชื่อว่าเป็นหญิงเปลือยอยู่นั้นเอง พระเจ้าค่ะ "

บัณฑิตจึงกล่าวว่า
   " แม่น้ำที่ไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือย แว่นแคว้นที่ปราศจากพระราชาชื่อว่าเปลือย
     หญิงปราศจากผัวถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย "

พระราชาทรงเลื่อมใสนาง จึงตรัสถามว่า
    " ชาย ๓ คนนี้เป็นอะไรกับเจ้า "

นางกราบทูลว่า
    " คนหนึ่งเป็นสามี คนหนึ่งเป็นพี่ชาย และคนหนึ่งเป็นลูกชาย พระเจ้าค่ะ "

พระราชาตรัสว่า
    " ในชาย ๓ คนนี้ ให้เจ้าเลือกเอาหนึ่งคน เจ้าจะเอาใคร "

นางกราบทูลว่า
    " เมื่อหม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่ สามีและบุตรต้องหาได้ แต่เพราะมารดาและบิดาของหม่อมฉันเสียชีวิตแล้ว พี่ชายคนเดียวหาได้ยาก ขอพระองค์พระราชทานพี่ชายแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ "

พระราชาทรงพอพระทัย มีความยินดียิ่ง จึงทรงปล่อยคนทั้ง ๓ ไป เพราะอาศัยหญิงนั้นคนเดียว

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

หญิงฉลาดย่อมเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้

ข้อมูล เวปไซต์ ธรรมะไทย
ภาพ เวปรักบ้านเกิด